วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

มหากาพย์โอดิสซีย์



โอดีสซีย์ (อังกฤษ: Odyssey; กรีก: Ὀδύσσεια, Odusseia) เป็นบทประพันธ์มหากาพย์กรีกโบราณหนึ่งในสองเรื่องของโฮเมอร์ คาดว่าประพันธ์ขึ้นในราว 800 ปีก่อนคริสตกาล ที่แคว้นไอโอเนีย ดินแดนชายทะเลฝั่งตะวันตกของตุรกีซึ่งอยู่ในอาณัติของกรีก บทกวีเล่าเรื่องราวต่อจากอีเลียด ว่าด้วยการเดินทางกลับบ้านที่อิธาคาของวีรบุรุษกรีกชื่อ โอดิซูส (หรือยูลิซีส ตามตำนานโรมัน) หลังจากการล่มสลายของทรอย

บทกวีชุดนี้เป็นรากฐานสำคัญต่องานวรรณกรรมตะวันตกยุคใหม่ เรียกได้ว่าเป็นอันดับสองรองจากอีเลียด มีการศึกษาและแปลออกเป็นภาษาต่างๆ มากมายทั่วโลก เชื่อว่าบทกวีเริ่มแรกประพันธ์ขึ้นในลักษณะวรรณกรรมมุขปาฐะ เพื่อการขับร้องลำนำของเหล่านักดนตรีมากกว่าเพื่อการอ่าน ใช้ฉันทลักษณ์แบบ dactylic hexameter ประกอบด้วยบทกวีรวม 12,110 บรรทัด

เนื้อเรื่อง


โอดีซุส และ นอซิกา ภาพวาดโดย ชาร์ลส เกลียร์

โอดิซูสใช้เวลาเดินทางกลับบ้านนานถึง 10 ปี หลังจากที่ใช้เวลาไปในศึกเมืองทรอยแล้วถึง 10 ปี ระหว่างเวลาเหล่านั้น เทเลมาคัส บุตรของเขา และ พีเนโลปผู้ภรรยา ต้องต่อสู้กับกลุ่มคนพาลที่พยายามจะขอวิวาห์กับพีเนโลป เพราะต่างคิดว่าโอดิซูสเสียชีวิตแล้ว  แต่พีเนโลปก็ใช้อุบายต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยง อันเป็นการพิสูจน์ถึงความซื่อสัตย์ที่เธอมีต่อสามี จนกระทั้งในการประลองธนูครั้งสุดท้ายเพื่อแย่งชิง  พีเนโลป  โอดีซีก็เดินทางกลับมาถึงเมืองพอดี และได้เข้าร่วมการแข่งขันและเป็นผู้ชนะและได้กลับมาอยู่กับพีเนโลปและเทเลมาคัส ในที่สุด
การประลองธนูเพื่อแย่งชิงพีเนโลป

โอดีซีได้กลับมาอยู่กับพีเนโลป

โดยการบรรยายจะเเบ่งเป็นสองตอนคือ
 ตอนที่หนึ่ง วีรบุรุษกรีกหลายคนเดินทางกลับบ้าน ทุกคนเดินทางไปโดยปลอดภัย มีเพียงโอดิสสิอุสเท่านั้นที่ต้องใช้เวลาเดินทางถึง 10 ปีผจญภัยต่างๆ ระหว่างทาง กว่าที่จะได้พบภรรยาคือเพเนโลป (Penelope) โอดิสสิอุสต้องเผชิญหน้ากับศัตรูหลายรูปแบบเช่น ยักษ์กินคนโพลิเพอมัส (Polyphemus) เทพธิดากาลิปโซ (Calypso) ผู้สัญญาจะให้โอดิสสิอุสมีชิวิตอมตะหากยกเลิกการเดินทางกลับบ้านเมือง เป็นต้น
 ตอนที่สอง บรรยายถึงเมื่อโอดิสสิอุสกลับถึงบ้านที่อิตากา (Ithaca) แล้ว เขาต้องจัดการกับบรรดาบริวารฉ้อฉลที่พยายามจะฮุบสมบัติบ้านเรือนของเขา

บทวิเคราัะห์



ตัวละครเพเนโลป  ผู้ซื่อสัตย์ต่อสามี ไม่หลงระเริงไปกับความหรูหราฟุ่มเฟือยที่พวกผู้ดูแลประเคนให้ ทำให้ได้รับความสุขในบั้นปลาย สำหรับเนื้อหาของเรื่องที่มีการบรรยายถึงวีรบุรุษที่มีไหวพริบ และองอาจ มีโครงเรื่องโรแมนติก และเปลี่ยนฉากไปเรื่อยๆ ไม่ได้ซ้ำอยู่แต่ฉากสงครามเหมือนเรื่องอีเลียดทำให้ผู้อ่านได้รับความเพลิดเพลิน และให้ความสนใจแก่ผู้อ่านมากกว่าเรื่องอีเลียด






ที่มา : http://www.bkkonline.com/novel/24-apr-44.shtml
         http://th.wikipedia.org/wiki/โอดิสซีย์
           http://www.dekisugi.net/blog/archives/26690
           http://www.mythweb.com/odyssey/index.html
           http://tkc.go.th/มหากาพย์โอดิสซี/

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

มหากายพ์อีเลียด

ภาพปกมหากาพย์ อีเลียด เชื่อว่าพิมพ์ในปี ค.. 1572

อีเลียด (กรีก: Ἰλιάς Ilias; อังกฤษ: Iliad) เป็นหนึ่งในสองบทกวีมหากาพย์กรีกโบราณของโฮเมอร์ ซึ่งเล่าเรื่องราวของสงครามเมืองทรอยในช่วงปีที่สิบอันเป็นปีที่สิ้นสุดสงคราม เชื่อกันว่า อีเลียด ถูกแต่งขึ้นในช่วงศตวรรษที่แปดก่อนคริสตกาล

เรื่องราวในบทกวีบรรยายถึงเหตุการณ์ในปีที่สิบ ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของเหตุการณ์ที่ชาวกรีกบุกยึดนครอีเลียน หรือเมืองทรอย คำว่า "อีเลียด" หมายถึง "เกี่ยวกับอีเลียน" (ภาษาละตินเรียก อีเลียม (Ilium)) อันเป็นชื่อเรียกส่วนนครหลวง ซึ่งแตกต่างกับ ทรอย (ตุรกี: Truva; กรีก: Τροία, Troía; ละติน: Troia, Troiae) อันหมายถึงนครรัฐที่อยู่ล้อมรอบอีเลียม แต่คำทั้งสองคำนี้มักใช้รวมๆ กันหมายถึงสถานที่แห่งเดียวกัน
เรื่องราวในอีเลียด

บทกวีอีเลียด ประพันธ์ด้วยฉันทลักษณ์แบบ dactylic hexameter มีความยาวทั้งสิ้น 15,693 บรรทัด สามารถแบ่งออกได้เป็น 24 บท (หรือ 24 ม้วนกระดาษ) แนวทางการแบ่งเนื้อหาเช่นนี้ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน


เนื้อเรื่อง 

        บทกวีเริ่มต้นขึ้นเมื่อชาวกรีกได้จับตัวนางไครเซอีส บุตรีของไครสิสเจ้าพิธีของอพอลโลมาแล้ว และมอบนางให้เป็นรางวัลแก่อักกะเมมนอน เทพอพอลโลจึงบันดาลให้เกิดโรคระบาดในกองทัพกรีก เพื่อบีบบังคับให้อักกะเมมนอนคืนตัวนางไครเซอีสให้แก่บิดา อักกะเมมนอนจึงไปบังคับเอาตัวนางไบรเซอีสมาแทน นางไบรเซอีสเป็นทาสชาวเอเคียนที่มอบให้เป็นรางวัลแก่อคิลลีส นักรบผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งยุค ดังนั้นอคิลลีสจึงถอนตัวออกจากการรบ

ฝ่ายเมืองทรอยนั้นมีเจ้าชายเฮกเตอร์ โอรสของท้าวเพรียม เป็นแม่ทัพนำศึกป้องกันเมืองและปกป้องครอบครัวของตน เมื่ออคิลลีสไม่ยอมร่วมรบด้วย เฮกเตอร์จึงสามารถมีชัยชนะเหนือกองทัพกรีก นักรบกรีกที่เหลืออยู่ รวมถึงโอดิซูสและดิโอมีดีส ต่างได้รับบาดเจ็บ ด้วยเวลานั้นปวงเทพต่างเข้าข้างฝ่ายเมืองทรอย ปโตรกลัสจึงปลอมตัวเป็นอคิลลีสโดยนำเสื้อเกราะของเขามาสวม และนำทัพชาวเมอร์มิดอนกลับเข้าร่วมรบเพื่อช่วยป้องกันเรือของพวกกรีกไม่ให้ถูกเผาทำลาย
ภาพอคิลลีสพยาบาลปโตรกลัส
ภาพวาดในพิพิธภัณฑ์
Altes กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน
 ปโตรกลัสถูกเฮกเตอร์สังหารสิ้นชีพ อคิลลีสจึงกลับเข้าร่วมรบเพื่อแก้แค้นให้ปโตรกลัส เขาสังหารเฮกเตอร์ได้สำเร็จด้วยการประลองตัวต่อตัว แล้วเอาร่างของเฮกเตอร์กลับไปค่ายด้วย 

ภาพวีรบุรุษอคิลลีสกับชัยชนะเหนือเฮกเตอร์ แม่ทัพทรอย 
จากมหากาพย์อีเลียดของโฮเมอร์

ท้าวเพรียมลอบเข้าค่ายทัพกรีก (ด้วยความช่วยเหลือของเทพเฮอร์มีส) เพื่อไถ่ร่างของบุตรชายคืน อคิลลีสเกิดความสงสารจึงคืนให้ บทกวีจบลงที่การทำพิธีศพของเฮกเตอร์

ภาพประติมากรรมนูนต่ำที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์  กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
แสดงเหตุการณ์ในเล่ม 24    ตอนนำร่างเฮกเตอร์กลับกรุงทรอย

บทวิเคราะห์



          โฮเมอร์บรรยายภาพการศึกไว้ในมหากาพย์อย่างละเอียด เขาระบุชื่อนักรบจำนวนมาก เอ่ยถึงถ้อยคำที่ด่าทอ นับจำนวนครั้งที่เปล่งเสียงร้อง รวมถึงรายละเอียดในการปลิดชีวิตฝ่ายศัตรู การสิ้นชีวิตของวีรบุรุษแต่ละคนส่งผลให้การสงครามรุนแรงหนักยิ่งขึ้นทัพทั้งสองฝ่ายต่างเข้าแย่งชิงเสื้อเกราะเครื่องอาวุธ และแก้แค้นต่อผู้ที่สังหารคนของตน นักรบที่โชคดีมักรอดพ้นไปได้ด้วยฝีมือขับรถของสารถี หรือด้วยการช่วยเหลือป้องกันของเหล่าเทพ รายละเอียดสงครามของโฮเมอร์นับเป็นงานวรรณกรรม ที่โหดเหี้ยมและมีผู้เสียชีวิตมากที่สุด

มหากาพย์ อีเลียด มีนัยยะทางศาสนาและสิ่งเหนือธรรมชาติอยู่มาก กองทัพทั้งสองฝ่าย ต่างเคร่งครัดศรัทธาต่อเทพเจ้าของตน และต่างมีนักรบที่สืบเชื้อสายมาจากเหล่าเทพด้วย พวกเขามักเซ่นสรวงบูชาเทพเจ้า ขอคำปรึกษาจากพระ และแสวงหาคำพยากรณ์เพื่อตัดสินใจว่าควรจะทำอย่างไรต่อไป

พวกเทพเจ้ามักเข้าร่วมในการรบ ทั้งโดยการให้คำแนะนำและช่วยเหลือปกป้องนักรบคนโปรด บางคราวก็ร่วมรบด้วยตนเองกับพวกมนุษย์หรือกับเทพเจ้าองค์อื่นๆ

ตัวละครหลักของมหากาพย์ อีเลียด จำนวนมากมีส่วนเชื่อมโยงสงครามเมืองทรอยเข้ากับตำนานปรัมปราอื่นๆ เช่น ตำนานเจสันกับขนแกะทองคำ ตำนานกบฏเมืองธีบส์ และการผจญภัยของเฮราคลีส (เฮอร์คิวลีส)

ตำนานปรัมปราของกรีกโบราณเหล่านี้มีเรื่องเล่ามา ในหลากหลายรูปแบบ โฮเมอร์จึงค่อนข้างมีอิสระในการเลือกเอารูปแบบตามที่เขาต้องการ เพื่อนำมาประกอบในมหากาพย์ รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดดูใน ตำนานกรีกโบราณ

เรื่องราวในมหากาพย์ อีเลียด ครอบคลุมช่วงเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ในช่วงปีที่สิบ และปีสุดท้ายของสงครามเมืองทรอย มิได้เล่าถึงความเป็นมาของการศึกและเหตุการณ์ในช่วงต้น (คือเรื่องที่ปารีสลักพานางเฮเลนมาจากกษัตริย์เมนนิเลอัส)

และมิได้เอ่ยถึงเหตุการณ์ตอนสิ้นสุดสงคราม (คือการตายของอคิลลีส และการล่มสลายของเมืองทรอยอย่างไรก็ดีมีบทกวีมหากาพย์เรื่องอื่นที่บรรยายความต่อจากนี้ แต่หลงเหลือรอดมาถึงปัจจุบันเพียงเล็กน้อย มีเนื้อความกระจัดกระจายเป็นส่วนๆ ไม่ต่อเนื่อง 


เทพปกรณัมใน อีเลียด


แม้ว่าเหล่าเทพเจ้ากรีก หรือมนุษย์กึ่งเทพทั้งหลาย จะมีบทบาทอย่างมากในเรื่อง อีเลียด นักวิชาการสังเกตว่า การปรากฏของเหล่าเทพเจ้าในงานของโฮเมอร์เป็นการแหวกประเพณีดั้งเดิมที่ชาวกรีกมีต่อศรัทธาของตน เทพเจ้าใน อีเลียด ดำเนินบทบาทไปตามความประสงค์ของผู้ประพันธ์เพื่อช่วยเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้น แทนที่จะเป็นองค์อุดมคติอยู่ในปกรณัมเหมือนอย่างที่เคย เฮโรโดทัส นักประวัติศาสตร์คลาสสิกอ้างว่า โฮเมอร์และเฮสิออดเพื่อนของเขา เป็นผู้แรกที่อ้างถึงและบรรยายลักษณะตัวละครแบบเทพเจ้าในงานประพันธ์

นักวิชาการอีกคนหนึ่งคือ แมรี เลฟโควิทซ์ เขียนในหนังสือของเธอ ชื่อ Greek Gods: Human Lives (เทพเจ้ากรีกก็คือมนุษย์) แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำต่างๆ ของเหล่าเทพเจ้าในมหากาพย์ อีเลียด และพยายามค้นหาว่า การกระทำของเหล่าเทพเป็นไปเพื่อความต้องการส่วนตัวของพวกเขา หรือเป็นการอุปมาเปรียบเทียบกับลักษณะนิสัยของมนุษย์กันแน่ นักประพันธ์ยุคคลาสสิกหลายคน เช่น ธูซิดิดีส และ เพลโต ให้ความสนใจกับตัวละครเทพเจ้าในงานของโฮเมอร์ว่าเป็นเพียง "วิธีการบอกเล่าถึงชีวิตของมนุษย์แทนที่จะพูดความจริงตรงๆ" แต่เธอกลับเห็นว่า หากเรามองดูเหล่าเทพเจ้ากรีกในฐานะองค์ประกอบทางศาสนา มิใช่เพียงการอุปมา จะเป็นการเปิดโลกทัศน์อันยิ่งใหญ่ให้เห็นถึงอัจฉริยะของชาวกรีกโบราณ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีหนังสือศักดิ์สิทธิ์หรือกฎเกณฑ์แห่งเหตุผลอันใด ชาวกรีกก็สามารถจินตนาการถึงเหล่าเทพที่เข้ากันได้กับองค์ประกอบของ "ศาสนา" เป็นอย่างดี










ที่มา : http://mblog.manager.co.th/nelumbo/th-42684/
          http://th.wikipedia.org/wiki/อีเลียด
          http://www.bkkonline.com/novel/10-apr-44.shtml
          http://bicycle2011.com/สงครามกรุงทรอย-ต้นตอแห/