วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

มหากาพย์โอดิสซีย์



โอดีสซีย์ (อังกฤษ: Odyssey; กรีก: Ὀδύσσεια, Odusseia) เป็นบทประพันธ์มหากาพย์กรีกโบราณหนึ่งในสองเรื่องของโฮเมอร์ คาดว่าประพันธ์ขึ้นในราว 800 ปีก่อนคริสตกาล ที่แคว้นไอโอเนีย ดินแดนชายทะเลฝั่งตะวันตกของตุรกีซึ่งอยู่ในอาณัติของกรีก บทกวีเล่าเรื่องราวต่อจากอีเลียด ว่าด้วยการเดินทางกลับบ้านที่อิธาคาของวีรบุรุษกรีกชื่อ โอดิซูส (หรือยูลิซีส ตามตำนานโรมัน) หลังจากการล่มสลายของทรอย

บทกวีชุดนี้เป็นรากฐานสำคัญต่องานวรรณกรรมตะวันตกยุคใหม่ เรียกได้ว่าเป็นอันดับสองรองจากอีเลียด มีการศึกษาและแปลออกเป็นภาษาต่างๆ มากมายทั่วโลก เชื่อว่าบทกวีเริ่มแรกประพันธ์ขึ้นในลักษณะวรรณกรรมมุขปาฐะ เพื่อการขับร้องลำนำของเหล่านักดนตรีมากกว่าเพื่อการอ่าน ใช้ฉันทลักษณ์แบบ dactylic hexameter ประกอบด้วยบทกวีรวม 12,110 บรรทัด

เนื้อเรื่อง


โอดีซุส และ นอซิกา ภาพวาดโดย ชาร์ลส เกลียร์

โอดิซูสใช้เวลาเดินทางกลับบ้านนานถึง 10 ปี หลังจากที่ใช้เวลาไปในศึกเมืองทรอยแล้วถึง 10 ปี ระหว่างเวลาเหล่านั้น เทเลมาคัส บุตรของเขา และ พีเนโลปผู้ภรรยา ต้องต่อสู้กับกลุ่มคนพาลที่พยายามจะขอวิวาห์กับพีเนโลป เพราะต่างคิดว่าโอดิซูสเสียชีวิตแล้ว  แต่พีเนโลปก็ใช้อุบายต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยง อันเป็นการพิสูจน์ถึงความซื่อสัตย์ที่เธอมีต่อสามี จนกระทั้งในการประลองธนูครั้งสุดท้ายเพื่อแย่งชิง  พีเนโลป  โอดีซีก็เดินทางกลับมาถึงเมืองพอดี และได้เข้าร่วมการแข่งขันและเป็นผู้ชนะและได้กลับมาอยู่กับพีเนโลปและเทเลมาคัส ในที่สุด
การประลองธนูเพื่อแย่งชิงพีเนโลป

โอดีซีได้กลับมาอยู่กับพีเนโลป

โดยการบรรยายจะเเบ่งเป็นสองตอนคือ
 ตอนที่หนึ่ง วีรบุรุษกรีกหลายคนเดินทางกลับบ้าน ทุกคนเดินทางไปโดยปลอดภัย มีเพียงโอดิสสิอุสเท่านั้นที่ต้องใช้เวลาเดินทางถึง 10 ปีผจญภัยต่างๆ ระหว่างทาง กว่าที่จะได้พบภรรยาคือเพเนโลป (Penelope) โอดิสสิอุสต้องเผชิญหน้ากับศัตรูหลายรูปแบบเช่น ยักษ์กินคนโพลิเพอมัส (Polyphemus) เทพธิดากาลิปโซ (Calypso) ผู้สัญญาจะให้โอดิสสิอุสมีชิวิตอมตะหากยกเลิกการเดินทางกลับบ้านเมือง เป็นต้น
 ตอนที่สอง บรรยายถึงเมื่อโอดิสสิอุสกลับถึงบ้านที่อิตากา (Ithaca) แล้ว เขาต้องจัดการกับบรรดาบริวารฉ้อฉลที่พยายามจะฮุบสมบัติบ้านเรือนของเขา

บทวิเคราัะห์



ตัวละครเพเนโลป  ผู้ซื่อสัตย์ต่อสามี ไม่หลงระเริงไปกับความหรูหราฟุ่มเฟือยที่พวกผู้ดูแลประเคนให้ ทำให้ได้รับความสุขในบั้นปลาย สำหรับเนื้อหาของเรื่องที่มีการบรรยายถึงวีรบุรุษที่มีไหวพริบ และองอาจ มีโครงเรื่องโรแมนติก และเปลี่ยนฉากไปเรื่อยๆ ไม่ได้ซ้ำอยู่แต่ฉากสงครามเหมือนเรื่องอีเลียดทำให้ผู้อ่านได้รับความเพลิดเพลิน และให้ความสนใจแก่ผู้อ่านมากกว่าเรื่องอีเลียด






ที่มา : http://www.bkkonline.com/novel/24-apr-44.shtml
         http://th.wikipedia.org/wiki/โอดิสซีย์
           http://www.dekisugi.net/blog/archives/26690
           http://www.mythweb.com/odyssey/index.html
           http://tkc.go.th/มหากาพย์โอดิสซี/

1 ความคิดเห็น: